วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2557 ครั้งที่ 4
แบบบันทึกอนุทิน
"นักศึกษานำเสนอพัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัยของแต่ละช่วงวัย"
นำเสนอองค์ความรู้จากการศึกษาด้วยตนเอง
การฟัง
อายุ 2 ขวบ ชอบฟังเพลงกล่อมเด็กวัยนี้ชอบคำซ้ำและเลียนแบบเสียง
อายุ 3 ขวบ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่
อายุ 4 ขวบ ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้
อายุ 5 ขวบ ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆ ได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆและเข้าใจถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
อายุ 3 ขวบ สามารถเข้าใจภาษาพูดง่ายๆของผู้ใหญ่
อายุ 4 ขวบ ฟังเรื่องได้นานขึ้น เริ่มตีความหมายเรื่องที่ฟัง ชอบฟังเรื่องซ้ำๆและสามารถจำแนกความแตกต่างของเสียงได้
อายุ 5 ขวบ ชอบฟังนิทาน เพลง เล่นภาษา เช่น คำคล้องจอง สามารถเข้าใจคำพูดข้อความยาวๆ ได้ ความเข้าใจทำให้เด็กวัยนี้พูดเก่งและจำแม่น
อายุ 6 ขวบ ฟังเรื่องราวต่างๆและเข้าใจถ้าไม่ซับซ้อนเกินไป
การพูด
เด็กอนุบาล 1 พูดติดอ่าง ย้ำคำพูดตัวเอง
เด็กอนุบาล 2 พูดเป็นประโยคสั้นๆ
เด็กอนุบาล 3 ประโยคเริ่มสมบูรณ์
การอ่าน
อายุ 3-4 ปี สนใจเสียงต่างๆของภาษาโดยเฉพาะ "คำคล้องจอง" ที่มีในเพลง สามารถบอกตัวอักษรได้ 10 ตัว
อายุ 4-5 ปี สามารถแยกพยางค์ในคำที่ฟังได้ เริ่มแยกหน่วยเสียงย่อยในคำที่ฟังได้
อายุ 5-5 ½ ปี สามารถเปรียบเทียบคำสองคำที่ฟังว่าคล้องจองกันหรือไม่ (เช่น กา-ขา,cat bat) บอกคำที่มีเสียงคล้องจองกับคำที่ฟังได้
อายุ 4-5 ปี สามารถแยกพยางค์ในคำที่ฟังได้ เริ่มแยกหน่วยเสียงย่อยในคำที่ฟังได้
อายุ 5-5 ½ ปี สามารถเปรียบเทียบคำสองคำที่ฟังว่าคล้องจองกันหรือไม่ (เช่น กา-ขา,cat bat) บอกคำที่มีเสียงคล้องจองกับคำที่ฟังได้
การเขียน
ขั้นที่ 1 ขีดเขี่ย (อายุ 2-3 ขวบ) เด็กจับดินสอขีดเขียนเส้นต่างๆ สะเปะสะปะ ไร้ทิศทางโดยที่ตาไม่ได้มองมือ หรือกระดาษที่ตนเองเขียน
ขั้นที่ 2 ควบคุมการขีดเขี่ย (อายุ 3 ขวบ) เด็กเริ่มควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือตนเองได้ และเขียนอย่างมีทิศทางมากขึ้น
ขั้นที่ 3 เขียนซ้ำตัวอักษร (อายุ 3-4 ขวบ) เด็กในวัยนี้ชอบเขียนตามจุดปะ หรือลากเส้นทับคำที่อยากเขียนมากแต่ยังบิดเบี้ยว โย้เย้ ไม่เป็นระเบียบ
ขั้นที่ 4 สามารถเขียนชื่อตนเอง ( อายุ 4 ขวบ) เด็กสามารถลอกคำต่างๆ ได้ และพยายามที่จะเขียนคำที่ชอบเอง
ขั้นที่ 4 สามารถเขียนชื่อตนเอง ( อายุ 4 ขวบ) เด็กสามารถลอกคำต่างๆ ได้ และพยายามที่จะเขียนคำที่ชอบเอง
ขั้นที่ 5 คิดเขียนคำ (อายุ 4-5 ขวบ) เมื่อเด็กได้ฟังคำอะไร เด็กจะชอบเอาคำนั้นมาคิดและเขียน แต่มักจะสะกดไม่ถูกต้อง
ขั้นที่ 6 เขียนอย่างถูกต้อง (อายุ 5-7 ขวบ) เด็กสามารถเขียนคำต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว และ ถูกต้องมากขึ้น
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
ทักษะด้านการฟัง
1. เด็กควรได้ฟังเสียงที่ให้ความเพลิดเพลิน เช่น การฟังนิทาน กลอน หรือเสียง เพลง
2. เด็กควรได้ฟัง แล้วสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง และตอบสนองต่อสิ่งที่ได้ยิน
ทักษะด้านการพูด
1. เด็กควรได้แสดงความรู้สึก หรือบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองด้วยการพูด
2. เด็กควรได้พูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น หรือการแก้ปัญหา
ทักษะด้านการอ่าน
เด็กควรได้รับประสบการณ์ในการอ่าน ทั้งการอ่านภาพจากหนังสือนิทาน อ่าน เครื่องหมาย อ่านสัญลักษณ์ หรืออ่านเรื่องราวที่เด็กสนใจ
ทักษะด้านการพูด
เด็กควรได้รับประสบการณ์ในการเขียน ทั้งเขียนภาพ เขียนขีดเขี่ย เขียนคล้ายตัว อักษร เขียนเหมือนสัญลักษณ์ หรือเขียนชื่อตนเองหรือคำที่คุ้นเคย
สรุป
ประสบการณ์ด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยประกอบด้วยการฟัง พูด อ่าน เขียนซึ่งพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยจะค่อยๆพัฒนาไปตามขั้น อาศัยประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มาแล้วต่อยอดพัฒนาการให้เพิ่มขึ้นและสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น