วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2557 ครั้งที่ 3
แบบบันทึกอนุทิน
"แนวคิดนักการศึกษาที่กี่ยวข้องกับการพัฒนาภาาของเด็กปฐมวัย"
แนวคิดนักการศึกษา
Skinner- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
- ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
John B. watson
- ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่สามารถที่จะวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
แนวคิดคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
Piaget
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
Vygotsky
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- สังคม บุคคลรอบข้างมีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
- ผู้ใหญ่ช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
กระบวนการเรียนรู้
2. การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่(Accommodation)
[Assimilation + Accommodation] = Equilibrium
**ความคิดรวบยอด**
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
Arnold Gesell
- เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
- ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
- เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาแต่กำเนิด
Noam Chomsky
- ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
- มนุษย์เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา มาตั้งแต่เกิด เรียกว่า LAD (Language Acquisition Derice)
แนวคิดของ O. Hobart Mowrer คิดค้นทฤษฏีความพึงพอใจ
ความสามารถในการฟังและความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่น และเสียงตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา
จิตวิทยาการเรียนรู้
ควาสามารถในการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับตัวแปรที่มีอิทธิพลหรือปัจจัย ดังนี้
1. ความพร้อม วัย ความสามารถ และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล อิทธิพลทางพันธุกรรม อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3. การจำ เห็นบ่อยๆ ทำบ่อยๆ จัดเป็นหมวดหมู่ และใช้คำสัมผัส
4. การให้แรงเสริม เสริมแรงทางบวก เสริมแรงทางลบ
ภาพสิ่งที่รักมากที่สุด "ครอบครัวของฉัน"
ไม่มีที่ใดสุขใจเท่าบ้านของเรา
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
1. จัดสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมต่อการเรียนรู้ กล่าวคือ จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวด็ก หรือสภาพห้องเรียนให้มีความพร้อม มีความสวยงามเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และจัดให้มีความสอดคล้องต่อเนื้อหาหรือกิจกรรมที่เรียน
2. ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงเด็กควรจัดการเรียนรู้ให้เด็กอย่างเหมาะสม ตามความสามารถคอยชี้แนะแนวทาง และช่วยเหลืออยู่ห่างๆ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน
3. เมื่อรู้ว่าเด็กชอบฟังนิทาน คุณครูอาจจัดการเรียนรู้ไปพร้อมกับการเล่านิทาน และถ้าคุณครูรู้ว่าเด็กชอบเล่นตุ๊กตา แต่ไม่ชอบทำแบบฝึกหัด คุณครูอาจจะใช้ตุ๊กตาเป็นรางวัลเมื่อเด็กทำแบบฝึกหัดเสร็จ
สรุป
ทฤษฎีการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างยิ่ง เนื่องจากเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน มีความเหมาะสมต่อผู้เรียน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความสามารถเท่าที่เด็กจะเรียนรู้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น