วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 04 ธันวาคม พ.ศ.2557 ครั้งที่ 14

แบบบันทึกอนุทิน 

"สะท้อนผลการเรียนรู้สาระและประสบการณ์ในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย"


                                
     



      กิจกรรมในห้องเรียน
            => สอบร้องเพลงหน้าชั้นเรียน โดยอาจารย์เป็นผู้จับฉลากเลือกลำดับนักศึกษาที่                               จะออกไปร้อง และนักศึกษาจับฉลากเลือกเพลงที่ตนจะร้อง
                    => มอบรางวัลแก่นักศึกษาที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจากใบการเข้าเรียน
                    => สรุป พูดคุยต่อการเรียนที่ผ่านมา แสดงความรู้สึกที่มีต่อนักศึกษา และให้นักศึกษา                           ประเมินการเรียน การสอน

อาจารย์สรุป พูดคุยสนทนาต่อการเรียนที่ผ่านมา

นักศึกษาที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจับรางวัล




        การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
             1. กระตุ้นและส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กด้วยเพลง
                    2. การใช้ภาษาที่ถูกต้อง ออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
                    3. ใชตัวอักษร หัวกลมตัวเหลี่ยมในการสอนเด็ก
                    4. การประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
                    5. ครูควรให้กำลังใจ และคำชื่นชมในการพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็ก
                 
             
           สรุป
              ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารหรือสื่อความหมายให้เข้าใจซึ่งกันและกัน ภาษาในระดับปฐมวัยมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทางด้านสติปัญญาและศักยภาพของมนุษย์ พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู และผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญ ส่งเสริมทักษะโดยองค์รวม ให้เด็กได้มีพัฒนาการเป็นไปตามขั้นอย่างมีประสิทธิภาพ


วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ครั้งที่ 13

แบบบันทึกอนุทิน 

"การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา"










ภาษาธรรมชาติ = รูปภาพ + คำ



               กิจกรรมในห้องเรียน
                        ฝึกร้องเพลงจำนวน 10 เพลง


ประกอบด้วย
เพลง นั่งรถไฟ             เพลง เรือพาย
                                            เพลง เล่นแล้วเก็บ        เพลง ว่าว
                                            เพลง นม                       เพลง ไข่
                                            เพลง กล้วยบวชชี         เพลงนาฬิกา
                                            เพลง ดวงอาทิตย์         เพลง ดวงจันทร์



                                  
                       แสดงนิทานประกอบเพลง

อาจารย์แสดงตัวอย่าง การแสดงนิทานประกอบเพลง


แต่ละกลุ่มแสดงนิทานประกอบเพลงหน้าชั้นเรียน


ปริศนาคำทายเด็กปฐมวัย
อะไรเอ่ย 
เป็นดวงกลมกลม     ชื่นชมกลางคืน 
ส่องแสงกลางคืน   คู่กับดวงดาว

    
       การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
           1. คุณครูผู้สอนต้องมีแนวคิดทฤษฏีในดวงใจ
                 2. ควรถามเด็กเยอะๆ คำถามที่ใช้มีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิด
                 3. ควรจัดหา จัดทำปริศนาคำทาย คำคลองจอง  นิทาน และกลอนต่างๆ
                 4. ใช้วิธีประเมินที่หลากหลาย การประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
                 5. ในมุมที่ดีควรมีป้ายชื่อกำกับไว้เสมอ
                 6. เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดแสดงความคิดเห็น
                 7. ใช้สื่อที่หลากหลาย
                 
             
           สรุป
              การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยเด็กได้เรียนรู้ทักษะทางภาษา ดังนี้ 
                   1. ทักษะด้านการฟัง เด็กไดฟังนิทาน คำคล้องจอง และกลอนต่างๆ
                   2. ทักษะด้านการพูด เด็กได้สื่อสาร ตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็น
                   3. ทักษะด้านการอ่าน เด็กได้อ่านภาพ อ่านสัญลักษณ์ และอ่านเรื่องราวที่สนใจ
                   4. ทักษะด้านเขียน เด็กได้เขียนภาพ ขีดเขียน หรือการเขียนชื่อตนเอง
                   เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม




วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ครั้งที่ 12

แบบบันทึกอนุทิน 

"หนังสือนิทาน"

เรื่อง ฉันคือ ?
                     แบ่งกลุ่ม 3 คนจัดทำหนังสือนิทาน






                    เทคนิค วิธีทำ
                    การใช้ภาพซ้ำๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มตามลักษณะของเนื้อเรื่อง
                    เนื้อเรื่องมีลักษณะปลายเปิดที่สามารถตอบได้หลากหลาย
                    การซ้ำคำ จะต้องนำประโยคที่เขียนไว้มาเขียนทวนซ้ำทุกครั้ง
                    ใช้ " และ " เชื่อมประโยคสุดท้ายเสมอ
                    การใช้คำว่า " ไม่ใช้ " ต่อท้ายสิ่งที่เด็กตอบผิด
                    จบด้วยคำต่อท้ายว่า " ใช่ " ในสิ่งที่เด็กตอบถูก

       
            เด็กได้เรียนรู้ภาษาโดย การทวนคำ ทวนประโยคซ้ำๆ


     
       การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
           1. ใช้คำถามปลายเปิดถามเด็ก
                 2. เปิดโอกาสให้เด็กได้ตอบ และแสดงความคิดเห็น
                 3. ส่งเสริกิจกรรมการจัดทำหนังสือนิทานโดยมีเด็กเป็นผู้เสนอชื่อเรื่อง แต่งเนื้อเรื่อง และคุณครูเป็นผู้จัดทำ
                 4. ภาษาที่ใช้ควรมีความชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย
                 

             
           สรุป
          นิทานฉันคือ? เป็นนิทานที่มีลักษณะให้แสดงความคิดเห็นคำตอบที่ได้อาจจะไม่ตรงตามหนังสือ ซึ่งสามารถตอบได้หลากหลายตามความคิด จากประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมเล่านิทานในลักษณะดังกล่าวเด็กสามารถเรียนรู้ภาษาได้โดย การใช้คำหรือประโยคซ้ำๆ และทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก 

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ครั้งที่ 11

แบบบันทึกอนุทิน 

"โลกแห่งนิทานสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย"



สัมนาทางการศึกษาปฐมวัย
" โลกแห่งนิทานสร้างสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย "
สขาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

       
     เข้าร่วมสัมมนาทางการศึกษาปฐมวัย " โลกแห่งนิทานสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย "


โดย

อาจารย์ชัยฤทธิ์   ศรีโรจน์ฤทธิ์
วิทยากร
อาจรย์รชยา   ธนธัญชูโชติ
วิทยากร


กิจกรรมการอบรม




                  วิทยากรสอนเทคนิคการเปล่งเสียง เปล่งคำ ฝึกการออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน แนะนำนิทานที่ดีและมีชื่อเสียง คือ นิทานเรื่องหนอนจอมหิว และให้ชมวีดีโอเรื่อง The Bear who had never seen Christmas

นิทานเรื่อง หนอนจอมหิว


           
                          

 






                                           วิทยากรสอนเทคนิค/วิธีการวาดการ์ตูนอย่างง่าย


     การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
           1. คุณครูควรใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน
                 2. การเลือกนิทานนำมาสอนเด็กควรมีความหลากหลาย สอดแทรกควมรู้ คุณธรรมแก่เด็ก
                 3. ใช้วาดภาพประกอบสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

             
           สรุป
              กิจกรรมการสัมมนาทางการศึกษาเรื่อง โลกแห่งนิทานสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย ทำให้เราทราบวิธีการฝึกการออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน การอ้าปากกว้างๆสามารถช่วยให้พูดได้เร็ว ชัดเจนและถูกต้องมากขึ้น ทราบวิธีทำสื่อที่หลากหลาย และเทคนิคการวาดภาพอย่างง่าย


                                           

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ครั้งที่ 10

แบบบันทึกอนุทิน 

"การสอนแบบโครงการ (Project Approach)"


นำเสนอ Mind Mapping ในหัวข้อเรื่อง " การสอนแบบโครงการสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้อย่างไร "







                    การจัดการสอนแบบโครงการสามารถพัฒนาทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียนโดย เด็กมีโอกาสได้สังเกต แสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการตั้งคำถาม ซึ่งเด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ทำให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง เกิดแรงจูงใจ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองส่งเสริมให้เด็กมีวิธีการทำงานที่มีแบบแผน และการจัดแสดงผลงานตามมุมเพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยภาษา


 แต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนสื่อเพลงหน้าชั้นเรียน
              
อาจารย์แสดงตัวอย่างการสอนสื่อเพลงหน้าชั้นเรียน

 เทคนิค/วิธีการสอนสื่อเพลงหน้าชั้นเรียน
                                                 
                                                ครูผู้สอนอ่านให้เด็กฟังก่อน 
                                               ให้เด็กอ่านตาม
                                               ครูผู้สอนร้องเพลงให้ฟัง
                                               ร้องไปพร้อมกับผู้สอน
                                               ทำท่าประกอบเพลง

เพลง กระต่ายขาว
โดย นางสาวประภัสสร   สีหบุตร
เพลง บ้านของฉัน
โดย นางสาวพัชราวรรณ   บรรลือทรัพย์
เพลง ลุงมาชาวนา
โดย นางสาวจรีพร   เฉลิมจาน


      การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
           1. คุณครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น หาข้อมูลอย่างอิสระและ                                   สร้างสรรค์
                  2. คุณครูมีหน้าที่คอยแนะนำ ช่วยเหลือเด็กอยู่ห่างๆ และจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาให้ความ                       รู้
                  3. สนับสนุนให้เด็กใช้ภาษาแบบองค์รวม
                  4. คุณครูควรนำผลงานมาจัดแสดงไว้ภายในห้องทุกครั้ง และจัดหาหนังสือเพิ่มเติมให้                       เด็ก

             
           สรุป
              การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการเด็กสามารถพัฒนาภาษาได้ ดังนี้
                   1. เด็กสามารถอ่านเขียนได้โดยวิธีธรรมชาติ เพราะเกิดความคุ้นเคย และมีประสบการณ์กับตัวหนังสือ
                          2. เด็กได้แสดงความคิดเห็นจากการถ่ายทอดประสบการณ์เดิม
                          3. เด็กจะได้รับการส่งเสริมทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน
                         4. เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เด็กได้เลือกกิจกรรมอย่างอิสระ